พังผืดหลังผ่าตัด ทำศัลยกรรมหน้าอกเกิดจากอะไร ? มีวิธีป้องกันอย่างไร ?

พังผืดหลังผ่าตัด ทำศัลยกรรมหน้าอกเกิดจากอะไร ? มีวิธีป้องกันอย่างไร ?

การศัลยกรรมเสริมหน้าอก เป็นทางเลือกในการสร้างความมั่นใจ ให้กับคนที่ไม่พอใจในรูปร่างตนเอง ดังนั้นผลลัพธ์ที่สมบูรณ์แบบ คือเป้าหมายสูงสุดที่ทุกคนต้องการ แต่หลายครั้งอาจต้องผิดหวัง เพราะโชคร้ายได้พังผืดหลังผ่าตัดแถมมาด้วย

ปัญหาพังผืดหลังผ่าตัดเสริมอก เกิดจากอะไร ?

พังผืดรัดเต้านม (Capsular Contracture)

 เป็นภาวะแทรกซ้อนหลังเสริมนมที่สามารถเกิดขึ้นได้ ไม่ต่างจากศัลยกรรมประเภทอื่น มีโอกาสเกิดประมาณ 10.6% และอาจสูงขึ้นเป็น 20% ในระยะ 10 ปี

 

โดย Baker Classification System ได้แบ่งระดับของพังผืดเต้านม ออกเป็น 4 เกรดดังนี้

I. รูปทรงปกติ เต้านมนิ่ม คลำไม่เจ็บ

II. รูปทรงปกติ สัมผัสแล้วตึงขึ้นเล็กน้อย แต่ไม่เจ็บ

III. เต้านมผิดรูปเล็กน้อย เนื้อแน่นผิดปกติ รู้สึกเจ็บ

IV. เต้านมผิดรูปชัดเจน เนื้อแน่นมาก เจ็บมาก ซึ่งต้องผ่าตัดแก้ไขทั้ง Baker III และ IV เลย

Baker IV ซิลิโคนเต้านม ถูกพังผืดรัดจนผิดรูปและเล็กลง (ซ้าย)
ต้องตัดพังผืดออก ซิลิโคนถึงจะขยายตัวเท่าเดิม (ขวา)
จาก : drtanplasticsurgery.com.au

เมื่อใดก็ตามที่มีการผ่าตัด เนื้อเยื่อจะเกิดการอักเสบอย่างมาก ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายเปิดระบบรักษาแผลขึ้นมาทันที มีการสร้างพังผืดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่พังผืดในคนส่วนใหญ่จะเป็นแค่ Baker I เท่านั้น ซึ่งถือเป็นกระบวนการปกติ ที่เราไม่สามารถป้องกันการเกิดพังผืดนี้ได้

ปัจจัยเสี่ยง ของการเกิดพังผืด หลังศัลยกรรมหน้าอก

จาก : DOI: 10.2147/MDER.S49522

การสร้างพังผืดหลังผ่าตัดที่มากผิดปกติ จนทำให้เต้านมผิดรูปและรู้สึกเจ็บ เกิดจากอะไร ? ปัจจุบันยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน แต่อย่างไรก็ดี มีปัจจัยเสี่ยงบางประการ ที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดพังผืดดังนี้         

กรรมพันธุ์

พันธุกรรมเป็นตัวแปรหลัก ที่จะกำหนดโอกาสเกิดพังผืดในแต่ละคน โดยสังเกตได้จาก ประวัติการเกิดพังผืดหลังจากผ่าตัด ของคนในครอบครัวและของตนเอง

ซิลิโคนผิวเรียบ

ซิลิโคนเสริมหน้าอกผิวเรียบ จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดพังผืดหลังผ่าตัด มากกว่าซิลิโคนผิวทรายหรือผิวนาโน

ซิลิโคนเนื้อเจล

ซิลิโคนเจลรุ่นเก่า ที่เสี่ยงซิลิโคนแตกหรือรั่วไหล จะเพิ่มโอกาสเกิดพังผืด ในขณะที่ซิลิโคนเจลรุ่นใหม่เนื้อแน่น และซิลิโคนแบบใส่น้ำเกลือ จะเสี่ยงน้อยกว่า

วางซิลิโคนเหนือกล้ามเนื้อ

ตำแหน่งการวางซิลิโคนเสริมนม บริเวณใต้กล้ามเนื้อ (Submuscular Placement) มีความเสี่ยงที่จะเกิดพังผืด 4 – 12% ในขณะที่การวางซิลิโคนเหนือกล้ามเนื้อ หรือใต้เนื้อนม (Subglandular Placement) จะเพิ่มขึ้นเป็น 12 – 18% เลยทีเดียว

การติดเชื้อ

ไบโอฟิล์ม (Biofilm) หรือกลุ่มแบคทีเรียที่เคลือบผิวซิลิโคน ซึ่งเกิดจากการปนเปื้อนระหว่างศัลยกรรมหน้าอก หรือเกิดจากการสัมผัสก่อนหน้านั้น คือสาเหตุหลักของการอักเสบ และติดเชื้อเรื้อรังในเต้านม โดยจะไม่แสดงอาการ แต่เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดพังผืดหลังผ่าตัดได้   

มีเลือดคั่งหลังผ่าตัด

การระบายเลือดคั่ง (Hematoma) หรือน้ำเหลืองคั่ง (Seroma) หลังจากผ่าตัดได้ไม่ดีพอ ไม่มีการใส่สายระบายในบางเคส ก็จะเพิ่มความเสี่ยงเช่นกัน

วิธีป้องกันการเกิดพังผืดหลังเสริมนม

งดสูบบุหรี่

การสูบบุหรี่ จะเพิ่มความเสี่ยงขึ้นถึง 2 เท่า ดังนั้นการเตรียมตัวศัลยกรรม ด้วยการงดสูบบุหรี่ก่อน 6 – 8 สัปดาห์ จนกระทั่งฟื้นตัวดี จะช่วยป้องกันการเกิดพังผืดได้

สัมผัสซิลิโคนให้น้อยที่สุด

ผู้ที่ต้องการผ่าตัด ควรเลือกซิลิโคนหน้าอกจากตัวอย่าง แทนการสัมผัสของจริง เพื่อลดการปนเปื้อนก่อนผ่าตัดให้น้อยที่สุด

เลือกซิลิโคนความเสี่ยงต่ำ

เลือกซิลิโคนเสริมอกที่มีโอกาสเกิดพังผืดน้อย อย่างซิลิโคนเจลเนื้อแน่น ผิวทรายหรือผิวนาโน และขนาดไม่ใหญ่จนเกินไป โดยวางใต้กล้ามเนื้อ

เลือกผ่าตัดแบบมาตรฐาน

การผ่าตัดกับศัลยแพทย์ที่มีประสบการณ์สูง ในสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐาน จะใช้เวลาผ่าตัดน้อย โอกาสเลือดออกน้อยกว่า ทำให้เนื้อเยื่อบวมช้ำน้อยกว่า และอักเสบน้อยกว่า รวมทั้งยังเสี่ยงติดเชื้อน้อยกว่าด้วย

ดูแลตัวเองหลังผ่าตัด

นอกจากการทำแผลอย่างถูกวิธี ทานยาปฏิชีวนะให้ครบ และนวดหน้าอกสม่ำเสมอแล้ว การทานอาหารเสริมลดบวมหลังศัลยกรรม YENJAI เป็นอีกหนึ่งวิธี ที่อาจช่วยลดเสี่ยงพังผืดลงได้

BAIJAI CAP ยาลดบวมหลังศัลยกรรม ตัวช่วยลดบวม ลดอักเสบ

YENJAI สมุนไพรที่จะช่วยดูแลตั้งแต่ก่อนเกิดพังผืด เพราะอุดมไปด้วยใบบัวบก ที่ช่วยลดบวมช้ำ เร่งแผลหาย, ฟักทองลดอักเสบ, โสมคนบรรเทาปวด กระตุ้นคอลลาเจน และขมิ้นยับยั้งการติดเชื้อ โดยมีทั้งในรูปแบบของน้ำใบบัวบก, น้ำฟักทอง, ผงชงดื่ม และแคปซูล Baijai Cap

สรุป

พังผืดหลังผ่าตัด เป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับทุกคน เพราะเป็นหนึ่งในขั้นตอนซ่อมแซมเนื้อเยื่อของร่างกาย แต่ระดับความรุนแรงนั้นอาจแตกต่างกัน ซึ่งหากใครสามารถลดระดับการอักเสบ ลดบวมได้มาก ก็มีแนวโน้มที่จะลดเสี่ยงเกิดพังผืดได้มากขึ้นด้วย ดังนั้นอาหารเสริมลดบวมหลังศัลยกรรมอย่าง YENJAI จึงเป็นตัวช่วยที่ดี ที่สายศัลย์ไม่ควรพลาดเลยทีเดียว

อ้างอิงจาก

[1]   Qureshi AA, Myckatyn TM. Augmentation Mammoplasty, Mastopexy, and Mastopexy-Augmentation. In: Chung KC, editor. Grabb and Smith’s Plastic Surgery. 8th ed. New York: Wolters Kluwer; 2020. p.555-562.

[2]   Luvsannyam E, Patel D, Hassan Z, Nukala S, Somagutta MR, Hamid P. Overview of Risk Factors and Prevention of Capsular Contracture Following Implant-Based Breast Reconstruction and Cosmetic Surgery: A Systematic Review. Cureus. 2020 Sep 9;12(9):e10341. doi: 10.7759/cureus.10341. PMID: 33062465; PMCID: PMC7549852.

[3]   Tehrani K. What is capsular contracture and how can it be treated? [Internet]. Illinois: American Society of Plastic Surgeons (ASPS); 2018 [cited Nov 26, 2022]. Available from: https://www.plasticsurgery.org/