วิธีสลายฟิลเลอร์ มีแบบไหนบ้าง ? สารเติมเต็มแต่ละชนิด เอาออกเหมือนกันไหม ?

การฉีดสารต่าง ๆ เข้าร่างกาย ถือเป็นหนี่งในเทรนด์ศัลยกรรมที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะสามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงได้ทันที เจ็บตัวน้อย ใช้เวลาไม่นาน ราคาถูก แต่ก็อาจทำให้ไม่ได้ศึกษาข้อมูลอย่างเพียงพอ ด่วนตัดสินใจ จนผลลัพธ์ไม่น่าพอใจ และต้องตัดสินใจสลายฟิลเลอร์ หรือหาทางเอาสารเติมเต็มออกในที่สุด

ข้อมูลที่ต้องรู้ ก่อนจะสลายฟิลเลอร์

เมื่อกล่าวถึงฟิลเลอร์ (Derma Fillers) หรือสารเติมเต็ม โดยทั่วไปมักจะเข้าใจว่า มีแค่ไฮยาลูรอนิกแอซิด (Hyaluronic Acid) เพียงอย่างเดียว แต่ความจริงแล้ว ยังมีการฉีดสารเติมเต็มอีกหลายชนิดในท้องตลาด ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มดังนี้

1) ฟิลเลอร์แบบดูดซึมได้ (Absorbable Fillers)

เป็นสารเติมเต็มที่ออกฤทธิ์ชั่วคราว คงรูปประมาณ 6 – 18 เดือน แล้วจะสลายไป ตัวอย่างเช่น Hyaluronic Acid, PLLA

2) ฟิลเลอร์แบบไม่ดูดซึม (Non-absorbable Fillers)

เป็นการฉีดฟิลเลอร์แบบสังเคราะห์ ที่จะคงอยู่ได้ถาวร เช่น PMMA

ซึ่งการที่จะสลายสารฟิลเลอร์ได้หมดนั้น จำเป็นต้องรู้ว่า ฟิลเลอร์ที่ฉีดเข้าไปเป็นชนิดไหน เพราะบางชนิดสามารถฉีดสลายออกได้ ในขณะที่บางชนิดต้องผ่าออก หรือทำศัลยกรรมตกแต่งเท่านั้น

แนะนำฟิลเลอร์ ยอดนิยมของสายศัลย์

Hyaluronic acid (HA)

ตัวอย่างแบรนด์ : Restylane, Juvederm, Belotero

จุดเด่น     :   เป็นสารชนิดเดียวกันกับผิวหนัง ทำให้ฉีดแล้วเรียบเนียน กลมกลืน

                  ปรับแต่งรูปทรงง่าย FDA และ อย.ไทย รับรอง

จุดด้อย    :   หลังจากฉีดสารเติมเต็มแล้ว อาจบวมช้ำได้นาน 3 – 5 วัน

                  เพราะมีความหนืดสูง      

Calcium hydroxylapatite (CaHA)

ตัวอย่างแบรนด์ : Radiesse

จุดเด่น     :   เติมเต็มร่องลึกได้ดี กระตุ้นคอลลาเจนได้ อยู่ได้นาน 18 เดือน FDA รับรอง

จุดด้อย    :   เจ็บมากกว่า บวมช้ำนานกว่า มีโอกาสเป็นคลื่นได้

                  และฟิลเลอร์อาจบดบังอวัยวะอื่น เมื่อเอกซเรย์

Polylactic acid (PLLA)

ตัวอย่างแบรนด์ : Sculptra

จุดเด่น     :   เป็นสารสังเคราะห์ แบบเดียวกับไหมละลาย คงอยู่ได้ถึง 2 ปี FDA รับรอง

จุดด้อย    :   ต้องฉีดฟิลเลอร์อย่างน้อย 3 ครั้ง ถึงจะเห็นการเปลี่ยนแปลงชัดเจน

Polymethyl Methacrylate (PMMA)

ตัวอย่างแบรนด์ : Bellafill

จุดเด่น     :   เป็นเม็ดโพลีเมอร์ขนาดเล็ก เหมือนกับที่ใช้ทำเลนส์แก้วตาเทียม

                  เติมเต็มหลุมสิวและร่องแก้มได้ดี คงอยู่ถาวร FDA รับรอง

จุดด้อย    :   ฉีดสลายฟิลเลอร์ชนิดนี้ไม่ได้ ต้องผ่าตัดออกเท่านั้น

Fat grafts

จุดเด่น     :   โอกาสแพ้น้อยมาก เพราะใช้ไขมันตัวเอง ผลลัพธ์ดูเป็นธรรมชาติ

                  และยังได้ลดไขมันที่ตำแหน่งอื่นในร่างกายด้วย

 

จุดด้อย    :   เป็นศัลยกรรมตกแต่งที่ต้องเปิดแผล พักฟื้นนาน มีโอกาสบวมช้ำมาก

                  โดยเฉพาะบริเวณที่ดูดไขมันออกมา และจำเป็นต้องฉีดหลายครั้ง

                  เพราะไขมันที่ปลูกใหม่จะอยู่รอดเพียง 60 – 70%

เทคนิค การสลายฟิลเลอร์ในปัจจุบัน

ฉีดไฮยาลูโรนิเดส

ไฮยาลูโรนิเดส (Hyaluronidase) คือสารหลักที่จะใช้แก้ปัญหาต่าง ๆ หลังจากฉีดสารเติมเต็มประเภท HA เห็นผลทันทีหลังทำ โอกาสแพ้ต่ำเพียง 0.05 – 0.7%

ขูดฟิลเลอร์ออก

ถ้าเป็นฟิลเลอร์ที่ฉีดไว้นาน การฉีดสลายอาจจะไม่ได้ผล จึงจำเป็นจะต้องขูดออก พบบ่อยหลังจากเสริมจมูก, เสริมคาง, เสริมหน้าผาก, เสริมโหนกแก้ม มีโอกาสอักเสบได้มาก จำเป็นจะต้องลดบวมช้ำอย่างดี

ตัดเนื้อเยื่อ

PMMA จะต้องใช้วิธีผ่าตัดออก รวมถึงสารชนิดอื่นที่ฉีดสลายแล้วไม่ได้ผล ก็จำเป็นต้องทำศัลยกรรมตกแต่ง ซึ่งมีแนวโน้มที่จะต้องตัดผิวหนังหรือเนื้อเยื่อบางส่วนออกด้วย

ดูดไขมันออก

สำหรับการฉีดไขมัน บางกรณีจะสามารถดูดกลับออกมาได้ แต่ถ้าฉีดไว้นาน จนมีเส้นเลือดใหม่งอกเข้ามาเลี้ยงในไขมันแล้ว ก็จำเป็นจะต้องผ่าตัดเช่นกัน

การฉีดสเตียรอยด์

กรณีที่ฉีด CaHA หรือ PLLA แล้วเกิดก้อนบวมหรือผิวขรุขระ แต่ไม่แน่ใจว่า เป็นก้อนฟิลเลอร์ หรือเป็นการอักเสบที่เริ่มมีพังผืด แนะนำให้ฉีดสเตียรอยด์เจือจาง ร่วมกับคลึงนวด เพราะอาจช่วยลดบวมช้ำ ทำให้ผิวเรียบเนียน จนไม่ต้องสลายสารฟิลเลอร์

YENJAI สมุนไพรลดบวมช้ำ หลังสลายสารฟิลเลอร์

หลังจากการสลายฟิลเลอร์ มักจะเกิดการอักเสบ และบวมช้ำได้มาก จึงควรดูแลตัวเองด้วยสมุนไพรธรรมชาติ YENJAI ที่ออกฤทธิ์ลดอักเสบ, ลดบวมช้ำ, เร่งแผลหาย, บรรเทาปวด และยับยั้งเชื้อโรค ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลิตภัณฑ์ น้ำใบบัวบก และ น้ำฟักทอง

ตัวช่วยลดอาการ บวม ช้ำ อักเสบ หลังการผ่าตัดศัลยกรรม

BAIJAI CAP ยาลดบวมช้ำ หลังศัลยกกรรม

ยาลดบวมแบบแคปซูล พกพาง่าย ทานสะดวก

BAIJAI CAP ยาลดบวมหลังศัลยกรรม ตัวช่วยลดบวม ลดอักเสบ

สรุป

ฟิลเลอร์ หรือสารเติมเต็มแต่ละชนิด มีจุดเด่น – จุดด้อยแตกต่างกัน จึงควรศึกษาอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจฉีด ไม่เช่นนั้นอาจจะต้องมาฉีด        สลายฟิลเลอร์ ขูดออก หรือผ่าตัดในภายหลัง ซึ่งไม่น่าเสี่ยงเลย

อ้างอิงจาก

[1]   Born TM, Airan LE, Suissa D. Injectables and resurfacing techniques: Soft-tissue fillers. In: Neligan PC, Rubin JP, Liu DZ, editors. Plastic Surgery: Volume Two: Aesthetic . 4th edition. New York: Elsevier; 2018. p.39-54

[2]   Pestana IA, Marks MW. Dermal and Soft-Tissue Fillers: Principles, Materials, and Techniques. In: Chung KC, editor. Grabb and Smith’s Plastic Surgery. 8th ed. New York: Wolters Kluwer; 2020. p.472-480.

[3]    Surek CC, Grow J. Soft-Tissue Fillers. In: Janis JE, editor. Essentials of Plastic Surgery. 3rd Edition. New York: Thieme; 2023. p.1468-1475.

[4]    อดุลย์ชัย ธรรมาแสงเสริฐ. Filler เออเร่อ ไม่ว่า แต่อย่าเหลือ… [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย; [เข้าถึงเมื่อ 25 พฤษภาคม 2566 ]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thprs.org