สงสัยไหม ? ทำไมผ่าตัดแก้จมูก ถึงมีราคาแพงกว่าเสริมจมูกใหม่

คงไม่มีใคร อยากเจ็บตัวซ้ำ ๆ ต้องแก้จมูกซ้ำแล้วซ้ำเล่า เหมือนไม่มีวันจบ แต่เพราะผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามที่หวัง จนสูญเสียความมั่นใจ แถมโหงวเฮ้งไม่ดี ทำให้ต้องลงเอยด้วยการผ่าตัดแก้ไขจมูกใหม่ (Revision Rhinoplasty) ซึ่งแน่นอนว่า ราคาย่อมสูงกว่าเดิม

ทำไมการแก้จมูก ถึงแพงกว่าการทำจมูกครั้งแรก ?

การเสริมจมูกครั้งแรก (Primary Rhinoplasty) เป็นการตกแต่งจมูกเดิมตามธรรมชาติ ที่มีโครงสร้างพื้นฐานแบบที่ควรจะเป็น ไม่มีชิ้นส่วนไหนที่ผิดรูปหรือหายไป จึงสามารถเสริมจมูกแบบปิด (Closed Rhinoplasty) โดยเปิดแผลขนาดเล็ก แล้วใส่ซิลิโคนจมูกเข้าไปได้อย่างง่ายดาย ทำให้มีราคาถูกกว่าการแก้ไขจมูก ซึ่งจะมีความยุ่งยากมากกว่าดังนี้

มีการตรวจพิเศษเพิ่มเติม

การศัลยกรรมจมูกครั้งที่ 2 เป็นต้นไป จะมีโครงสร้างหลายส่วนที่ต่างไปจากเดิม เพราะถูกปรับแต่ง, ตัดออก, ถูกพังผืดรั้งจนผิดรูป จึงอาจมีค่าใช้จ่ายในการตรวจพิเศษเพิ่มเติม

ใช้วัสดุเทียมเพิ่มขึ้น

ใส่ซิลิโคนรองใต้ปลายจมูก
ปรับปรุงจาก
: Integrated Procedures in Facial Cosmetic Surgery, 2021 

ใส่วัสดุเสริม เพื่อยืดปลายจมูกจาก : https://europepmc.org/article/pmc/pmc3199824

หลายเคสที่ต้องแก้ไขจมูก มักจะมีปัญหาปลายจมูกบาง, ผนังกั้นจมูกหาย, กระดูกผิดรูป และกระดูกอ่อนเหลือน้อย ทำให้ต้องใช้วัสดุอื่นเข้ามาช่วย เช่น เนื้อเยื่อเทียม (Megaderm), PCL Mesh, Medpor รวมถึงกระดูกอ่อนของตัวเอง

เทคนิคผ่าตัดแบบโอเพ่น

การแก้จมูกส่วนใหญ่ นิยมใช้เทคนิคเสริมจมูกแบบโอเพ่น (Open Rhinoplasty) ซึ่งจะผ่าตัดยากกว่า ใช้เครื่องมือเยอะกว่า เพราะต้องเปิดผิวหนังที่คลุมจมูกขึ้นทั้งหมด โดยต้องทำในห้องผ่าตัด ทำให้มีค่าดมยาสลบเพิ่มด้วย

ขั้นตอนการทำงานซับซ้อน

การศัลยกรรมจมูกใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาจมูกเอียง, จมูกคด, จมูกทะลุ, ซิลิโคนลอย, จมูกติดเชื้อ ต้องอาศัยทักษะ ประสบการณ์ และเทคนิคขั้นสูง เพราะงานมีความซับซ้อนมากกว่า

ใช้เวลาในการผ่าตัดนานกว่า

การทำจมูกครั้งแรก เฉลี่ยแล้วใช้เวลา 30 – 60 นาที ทำให้ค่าใช้จ่ายถูกกว่าเคสแก้ ที่อาจต้องใช้เวลานานถึง 2 – 3 ชั่วโมง

ขั้นตอนการผ่าตัดที่เพิ่มขึ้น ในเคสแก้จมูก

ขั้นตอนการผ่าตัดที่ซับซ้อน คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้การแก้ไขจมูกมีราคาสูงกว่า ทั้งการเลาะพังผืด, ทำความสะอาดจมูก, ปรับแต่งกระดูก รวมทั้งอาจต้องเลาะกระดูกอ่อนจากที่อื่น รวมทั้งฉีดไขมันเพิ่มด้วย

เลาะพังผืดออก

การศัลยกรรมจมูกครั้งใหม่ จะต้องถอดซิลิโคนจมูกเก่าออกก่อน ซึ่งกว่าจะนำออกมาได้นั้น ต้องเลาะผ่านพังผืดที่หุ้มซิลิโคนให้ได้ ถือเป็นงานที่ค่อนข้างยาก ใช้เวลานาน และทำให้จมูกบวมช้ำได้มากเลยทีเดียว

เลาะวัสดุเดิมออก

คนที่เคยร้อยไหมจมูก หรือฉีดฟิลเลอร์มาก่อน จำเป็นต้องเลาะไหม และขูดสารเหลวออกให้หมด ไม่เช่นนั้นอาจทำให้จมูกผิดรูปได้

ปรับโครงสร้างกระดูก

บางกรณีอาจต้องปรับโครงสร้างกระดูก เช่น ตะไบฮัมพ์, ตอกฐานจมูก, ดัดกระดูก ก่อนจะแก้จมูกใหม่ เพื่อปรับให้รับกับทรงจมูกใหม่ที่ต้องการ

เตรียมกระดูก

การผ่าตัดกระดูกอ่อนหลังหู
จาก : Integrated Procedures in Facial Cosmetic Surgery, 2021 

การนำกระดูกซี่โครงมาทำแกนจมูก
ปรับปรุงจาก : https://europepmc.org/article/pmc/pmc3199824

หลายเคสจะมีขั้นตอนการเลาะกระดูกด้วย เพราะมีปัญหาผนังกั้นจมูกเสียหาย ปลายจมูกบาง ทำให้ต้องนำกระดูกอ่อนจากใบหู, ซี่โครง, กะโหลกศีรษะมาเสริม และอาจเปลี่ยนซิลิโคนจมูกมาใช้กระดูกอ่อนแทน ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้นตาม

เสริมวัสดุหลายตำแหน่ง

เสริมกระดูกอ่อนหลายตำแหน่งในจมูก
จาก : https://europepmc.org/article/pmc/pmc3199824

บางครั้งการทำจมูกใหม่ ต้องเสริมกระดูกอ่อน หรือวัสดุเทียมหลายตำแหน่ง ทำให้ต้องใช้วัสดุเพิ่มขึ้น ใช้เวลาผ่าตัดนานขึ้น ราคาจึงสูงขึ้นกว่าเดิม

ต้องฉีดไขมันเสริม

บางเคสอาจต้องดูดไขมันจากตำแหน่งอื่นในร่างกายมาเสริม เพื่อพยุงโครงสร้างของจมูกให้แข็งแรง และช่วยเติมเต็มเนื้อเยื่อที่ขาดหายด้วย

YENJAI อาหารเสริมลดบวมหลังศัลยกรรม สำหรับทุกเคส

ไม่ว่าจะเป็นการทำจมูกครั้งแรก หรือผ่าตัดแก้ไขครั้งที่เท่าไหร่ อาหารเสริมลดบวมหลังศัลยกรรม YENJAI ก็ดูแลได้ทุกเคส ! เพราะเราคัดสรรสมุนไพรธรรมชาติอย่างดี มีสรรพคุณอัดแน่น ทั้งใบบัวบกที่ขึ้นชื่อเรื่องลดบวมช้ำ เร่งให้แผลหาย ช่วยคลายเครียด, ฟักทองลดอักเสบ, โสมคนลดอาการปวด และขมิ้นชันยับยั้งเชื้อโรค โดยสามารถเลือกทานได้ทั้งในรูปแบบของน้ำใบบัวบก, น้ำฟักทอง, ผงชงดื่ม และแคปซูล Baijai Cap เลย

สรุป

เพราะขั้นตอนที่ซับซ้อน ระยะเวลาที่ยาวนาน และอุปกรณ์ที่มากกว่า ทำให้การผ่าตัดแก้จมูก มีราคาสูงกว่าการทำจมูกครั้งแรก ที่สำคัญคือ ทำให้จมูกบวมช้ำมากกว่าด้วย ดังนั้นการเตรียมตัวและเตรียมผิว ด้วยอาหารเสริมลดบวมหลังศัลยกรรม YENJAI น่าจะเป็นวิธีที่ดี ที่จะช่วยลดบวมช้ำ ลดอักเสบลงได้อย่างดี

อ้างอิงจาก

[1]   Fattahi T. Revision Rhinoplasty. In: Keyhan SO, Fattahi T, Bagheri SC, Bohluli B, Amirzade – Iranaq MH, editors. Integrated Procedures in Facial Cosmetic Surgery. Cham: Springer Nature Switzerland AG; 2021. p.283-291.

[2]   Ahmad J. Secondary Rhinoplasty. In: Janis JE, editor. Essentials of Plastic Surgery.3rd Edition. New York: Thieme; 2023. p.1642-1648.

[3]   Gassner HG. Structural grafts and suture techniques in functional and aesthetic rhinoplasty. GMS Current Topics in Otorhinolaryngology, Head and Neck Surgery. 2010;9:Doc01. DOI: 10.3205/cto000065. PMID: 22073105; PMCID: PMC3199824.