เชื่อเหลือเกินว่า ทุกคนน่าจะเคยมีรอยฟกช้ำตามร่างกาย อย่างน้อยสักครั้งในชีวิต ซึ่งถ้าเคยลองสังเกตจะพบว่า รอยช้ำของแต่ละคน หรือรอยช้ำของคุณในแต่ละครั้ง มีลักษณะที่แทบไม่เหมือนกันเลย นั่นเป็นเพราะ สาเหตุการเกิดที่แตกต่างกันนั่นเอง
รอยฟกช้ำ สาเหตุเกิดจากอะไรได้บ้าง ?
เกิดอุบัติเหตุ
อุบัติเหตุจากการใช้ชีวิตประจำวัน, การออกกำลังกาย, การขับขี่ รวมถึงอีกหลากหลายสาเหตุ ล้วนแต่ทำให้เกิด เลือดออกในข้อ หรือกล้ามเนื้อฟกช้ำได้ทั้งนั้น
การผ่าตัดศัลยกรรม
การผ่าตัดทุกรูปแบบ เช่น ผ่าตัดลำไส้, ทำหน้าเรียว, ทำตาสองชั้น, เสริมจมูกแบบโอเพ่น, ผ่าแก้เลือดคั่ง จากการเสริมหน้าอก
มีความผิดปกติของเลือด
เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคในกลุ่มเลือดออกผิดปกติ (Bleeding Disorders) เช่น ฮีโมฟีเลีย, มะเร็งบางชนิดอย่างลูคีเมีย หรือมะเร็งต่อมน้ำเหลือง BIA-ALCL, โรคตับ, การติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นต้น
การใช้ยาบางชนิด
ยาแก้ฟกช้ำยอดฮิตกลุ่ม NSAIDs เช่น Ibuprofen, Naproxen รวมทั้งยาแอสไพริน, วาฟาริน, ยาปฏิชีวนะ, ยาเคมีบำบัด
ขาดสารอาหาร
การขาดวิตามินซี, วิตามินเค, วิตามินบี-12 และกรดโฟลิก อาจทำให้เลือดออก จนเกิดรอยช้ำง่ายขึ้น
รอยช้ำตามวัย
รอยช้ำสีม่วงที่เกิดขึ้นเอง เมื่ออายุมากขึ้น (Senile Purpura) เป็นเพราะเส้นเลือดเปราะบาง รวมถึงผิวแห้ง อ่อนแอ และขาดการบำรุงผิวด้วย
รอยช้ำกี่วันหาย ? สีของรอยช้ำบอกอะไรบ้าง ?
รอยฟกช้ำเกิดได้หลายรูปแบบ มีหลายขนาด ซึ่งรอยช้ำโซนหน้าอกและใบหน้า มักจะหายได้เร็วกว่าช่วงขา เพราะเลือดไหลเวียนดีกว่า แต่โดยเฉลี่ยแล้ว รอยช้ำควรหายไปเองภายใน 2 สัปดาห์
ที่มา : https://foodforskin.org
รอยช้ำสีแดง │ 0 - 2 วัน
รอยช้ำที่เกิดขึ้นทันทีหลังอุบัติเหตุ หรือหลังผ่าตัด จะมีสีแดงสด บวม กดเจ็บ เพราะเส้นเลือดฉีกขาด กล้ามเนื้อบาดเจ็บ ซึ่งหากรีบทำแผลและทานยาแก้ฟกช้ำ จะช่วยเร่งแผลหายเร็วขึ้นได้
รอยช้ำสีม่วง │ 2 - 5 วัน
ระยะนี้ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ในเม็ดเลือดแดงจะสูญเสียออกซิเจน ส่งผลให้รอยช้ำเปลี่ยนจากสีแดง เป็นสีม่วงหรือม่วงอมน้ำเงิน
รอยช้ำสีเขียว │ 5 - 7 วัน
ฮีโมโกลบินจะถูกย่อยสลายโดยเอนไซม์จำเพาะ กลายเป็นบิลิเวอร์ดิน (Biliverdin) ซึ่งเป็นสารสีเขียว ทำให้รอยฟกช้ำกลายเป็นสีเขียวไปด้วย
รอยช้ำสีเหลือง│ 7 - 10 วัน
บิลิเวอร์ดิน ถูกเปลี่ยนเป็นบิลิรูบิน (Bilirubin) ซึ่งเป็นสารสีเหลือง ด้วยเหตุนี้ผิวหนังจึงกลายเป็นสีเหลือง เฉดใกล้เคียงกับทารกตัวเหลือง และคนไข้ดีซ่าน รวมถึงน้ำดี, ปัสสาวะ, อุจจาระ เพราะบิลิรูบิน สามารถพบได้ในส่วนประกอบเหล่านี้เช่นกัน
รอยช้ำสีน้ำตาล │10 - 14 วัน
รอยช้ำกี่วันหาย ? นี่คือระยะสุดท้ายแล้ว โดยจะเกิดการย่อยสลายฮีโมโกลบิน จนได้ฮีโมซิเดอริน (Hemosiderin) ซึ่งเป็นสารประกอบธาตุเหล็กสีออกเหลืองน้ำตาล ที่จะถูกเม็ดเลือดขาวจับกินจนหมด ทำให้ผิวกลับเป็นปกติในที่สุด
วิธีรักษารอยบวมช้ำเบี้องต้น
🩹 พันผ้ายืด : การรัดผ้ายืดในช่วง 1 – 3 วันแรก จะช่วยลดการเคลื่อนไหวของอวัยวะ ทำให้ลดบวมลงได้มาก เช่น ปิดเทปที่จมูก, สวมชุดกระชับสัดส่วน หลังดูดไขมัน, ใส่บรารัด หลังใส่ซิลิโคนเสริมหน้าอก
🧊 ประคบเย็น : การประคบด้วยน้ำแข็งหรือเจลเย็น ในระยะที่มีรอยช้ำสีม่วงและสีแดง จะทำให้แผลยุบบวมเร็วขึ้น
🛌 นอนยกแผลสูง : หนุนอวัยวะที่ผ่าตัด หรือส่วนที่มีรอยบวมช้ำ ให้สูงกว่าหัวใจในช่วง 72 ชั่วโมงแรก
BAIJAI สมุนไพรลดบวมช้ำสูตรธรรมชาติ ฉบับเร่งด่วน
🍀 ใบบัวบก : ยาแก้ฟกช้ำชั้นดีจากธรรมชาติ ช่วยกระตุ้นให้แผลหายเร็วขึ้น ลดโอกาสเกิดแผลเป็น ดูแลผิว พร้อมบำรุงสมอง
🍀 ฟักทอง : สารลดการอักเสบประสิทธิภาพสูง เร่งลดบวมช้ำ ต่อต้านอนุมูลอิสระ และยังลดเสี่ยงติดเชื้อด้วย
🍀 โสมคน : ดูแลลดอักเสบ ลดบวม พร้อมกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ตลอดจนเสริมสร้างภูมิคุ้มกันจากภายใน
🍀 ขมิ้นชัน : ลดอาการเจ็บปวด จากแผลบวมช้ำ แผลอักเสบ รวมทั้งยับยั้งแบคทีเรียและเชื้อราด้วย
อุ่นใจหายห่วง ! แคปซูลสมุนไพร BAIJAI CAP, น้ำใบบัวบกคั้นสด, น้ำฟักทองคั้นสด และสมุนไพรผงชงดื่ม YENJAI ช่วยดูแลแผลผ่าตัดหลังศัลยกรรม เร่งลดรอยบวมช้ำ ลดอักเสบ แผลหายเร็วกว่าที่เคย ไม่ต้องคอยลุ้นว่า รอยช้ำกี่วันหายอีกต่อไป !
สรุป
รอยฟกช้ำ (Bruise) เกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งส่วนใหญ่จะหายได้เองภายใน 2 สัปดาห์ แต่ถ้าต้องการเร่งยุบบวมให้เร็วกว่าเดิม อย่าลืมให้ YENJAI ช่วยดูแลนะคะ 💚✨
อ้างอิงจาก
[1] Boukovalas S, Aliano KA, Phillips LG, Norbury WB. Wound Healing. In: Townsend CM, Beauchamp RD, Evers BM, Mattox KL, editors. Sabiston: Textbook of Surgery: The Biological Basis of Modern Surgical Practice. 21st ed. Missouri: Elsevier; 2022. p.119-149.
[2] Lecomte MM, Holmes T, Kay DP, Simons JL, Vintiner SK. The use of photographs to record variation in bruising response in humans. Forensic Sci Int. 2013 Sep 10;231(1-3):213-8. doi: 10.1016/j.forsciint.2013.04.036. Epub 2013 Jun 20. PMID: 23890640.
[3] Marcin J. What do the colors of a bruise mean? [Internet]. Brighton: Healthline Media UK; 2020 [cited 2022 Oct 13]. Available from: https://www.medicalnewstoday.com