การเสริมคาง คือหนึ่งในเทคนิคปรับรูปหน้า ที่จะช่วยให้ใบหน้าดูละมุนและได้สัดส่วนมากขึ้น ซึ่งนอกจากการฉีดฟิลเลอร์และฉีดไขมันแล้ว การผ่าตัดก็เป็นอีกวิธีที่น่าสนใจ เพราะเจ็บครั้งเดียวแล้วจบเลย
ทำไมต้องผ่าตัดเสริมคาง ?
เป้าหมายของเสริมคาง คือการปรับโครงหน้าให้ได้สัดส่วน ซึ่งสามารถประเมินเบื้องต้นได้ดังนี้
- ลากเส้นตรงผ่านจุดที่ยื่นที่สุด ของริมฝีปากบนและล่าง (Riedel Line) ซึ่งจุดที่โค้งที่สุดของคาง ควรแตะเส้นนี้พอดี
- ลากเส้นตั้งฉากจากจมูก ผ่านริมฝีปากบน แล้ววัดระยะห่างจากคางถึงเส้น ควรห่างประมาณ 3 มิลลิเมตร
(จากซ้ายไปขวา) แสดงแนวการวัดตามข้อ 1. และ 2.
From Essentials of Aesthetic Surgery p.680 by Janis JE, 2018.
ดังนั้นคางที่แตกต่างจากเกณฑ์ข้างต้น อาจมีความผิดปกติ และไม่ได้สัดส่วนมากนัก ซึ่งการศัลยกรรมคาง จะช่วยปรับใบหน้าให้ดูสมส่วนและสวยงามขึ้นได้
การผ่าตัดเสริมคางมีกี่ทรง ?
1. คางทรงวีเชฟ
เป็นองค์ประกอบสำคัญ ที่จะช่วยปรับให้หน้าเรียวเป็นทรงวีเชฟ (V-Shaped) ดูทันสมัย เหมาะกับคนหน้ารูปไข่หรือรูปเพชร จะเสริมด้วยซิลิโคนคาง หรือตัดแต่งกระดูกก็ได้
2. คางทรงวีมน
บางคนเรียกว่าทรงยูเชฟ (U-Shaped) ทำให้กรอบหน้าดูละมุนและชัดเจนขึ้น เหมาะสำหรับคนที่กรามชัด มีโหนกแก้ม แก้มใหญ่ อย่างคนหน้ารูปหัวใจ, หน้ากลม, หน้าสี่เหลี่ยม
เทคนิคศัลยกรรมคางมีกี่แบบ แต่ละแบบต่างกันอย่างไร ?
การผ่าตัดเสริมคาง ทำได้หลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับโครงสร้างใบหน้าของแต่ละคน แต่โดยส่วนใหญ่จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก คือผ่าตัดเลื่อนกระดูก (Osseous Genioplasty) และผ่าตัดเสริมคาง (Augmentation Genioplasty / Chin Augmentation) ซึ่งจะใส่วัสดุเสริมเข้าไปด้วย
1. การผ่าตัดเลื่อนกระดูก
คนที่คางหลุบ จะต้องตัดกระดูกคางบางส่วน แล้วเลื่อนชิ้นส่วนนั้นให้ขยับออกมาด้านหน้า (Anterior Advancement) จะช่วยปรับรูปหน้าให้ดูยาวขึ้นได้
คนที่คางยื่น หรือคางงุ้มไปด้านหน้ามากเกินไป จนคล้ายคางแม่มด จะต้องเลื่อนปลายคางส่วนที่เกิน ให้ถอยกลับไปด้านหลัง (Posterior Reduction) แต่ถ้ามีปัญหาการสบฟันร่วมด้วย คงต้องเพิ่มการผ่าตัดขากรรไกรอีกหนึ่งหัตถการ
คนที่คางสั้น จนทำให้ใบหน้าดูสั้นไม่สมส่วน สามารถแก้ไขได้ด้วยการปรับองศา ของกระดูกคางส่วนปลายให้เอียงลง แล้วเติมช่องว่างด้วยการปลูกกระดูก (Bone Graft)
คนที่คางยาว จนดูเหมือนใบหน้ายาวผิดปกตินั้น สามารถปรับรูปหน้าให้สั้นลงได้ ด้วยการตัดกระดูกคางบางส่วนออก (ลูกศรสีแดงชี้) แล้วยึดคางส่วนที่เหลือ เข้ากับกระดูกใบหน้า
คนที่คางเบี้ยว คางเอียง ย่อมส่งผลให้รูปหน้าดูไม่สมมาตร ซึ่งจะต้องจัดเรียงกระดูกใหม่ ให้อยู่ในแนวแกนที่สวยงาม
2. การผ่าตัดเสริมคาง
การเสริมด้วยซิลิโคนคาง มักได้ผลดีในคนที่มีปัญหาคางหลุบเป็นหลัก เพราะตำแหน่งของกระดูกคางที่ใช้วางซิลิโคน จะอยู่ค่อนมาทางด้านหน้า ทำให้หลังจากเสริมแล้ว ปลายคางจะชี้มาทางด้านหน้าชัดเจน ซึ่งอาจไม่ช่วยแก้ปัญหาคางสั้นเท่าใดนัก แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปทรงของซิลิโคนคางด้วย
ซิลิโคนเสริมคางมีกี่ทรง มีแบบไหนบ้าง ?
ปัจจุบันซิลิโคนเสริมคางมีกี่ทรง ? คงต้องตอบว่า นับไม่ถ้วน เพราะทุกบริษัทต่างอัปเดตรูปแบบใหม่อย่างต่อเนื่อง แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว เรามักจะพูดถึง 2 แบบหลักนี้
1. ซิลิโคนขาสั้น
หรือซิลิโคนไม่มีขา เหมาะกับคนที่โครงหน้าเดิมค่อนข้างได้รูป แต่มีปัญหาคางสั้น จึงอยากยืดคางให้ยาวออก เพื่อให้ใบหน้าได้สัดส่วนมากขึ้น
2. ซิลิโคนขายาว
ขาของซิลิโคนรูปแบบนี้ จะยาวรับจนถึงข้างแก้ม ทำให้ดูกลมกลืน ลดเหลี่ยมมุมของกรอบหน้าได้ ที่สำคัญคือ ซิลิโคนจะไม่ห้อย ไม่เป็นก้อน และมีโอกาสเคลื่อนน้อยกว่า
คางเป๊ะ สวยเข้าที่ไว ! ด้วยสมุนไพรลดบวม YENJAI
บริเวณใต้คางเป็นจุดที่ผิวหนังค่อนข้างบาง และเป็นจุดต่ำสุดของใบหน้า ทำให้เลือดและของเหลว ที่เหลือค้างหลังศัลยกรรมคาง ไหลลงมากองรวมกัน จึงมีปัญหาอักเสบ บวมช้ำได้ง่าย ดังนั้นการดูแลตัวเองด้วยสมุนไพร YENJAI ก่อนหลังศัลยกรรม จึงเป็นตัวช่วยที่ดี ที่จะช่วยลดบวมช้ำ ลดอักเสบ เร่งให้แผลหายเร็วขึ้นได้ ทำให้คางสวยเข้าที่ไว นอกจากนี้ยังช่วยลดปวด ยับยั้งเชื้อโรค และกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วย เพราะสารสกัด YENJAI อุดมไปด้วยใบบัวบก, ฟักทอง, โสมคน, ขมิ้นชัน ซึ่งมีทั้งในรูปแบบของแคปซูล ผงชงดื่ม และน้ำสมุนไพรเลย
สรุป
ก่อนจะตัดสินใจเสริมคาง ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อวิเคราะห์หาปัญหาที่แท้จริงก่อน เพราะบางครั้งการเสริมด้วยซิลิโคนอย่างเดียว อาจไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาได้ ในขณะที่บางคนไม่จำเป็นต้องเสริมซิลิโคนเลย แต่ควรผ่าตัดเลื่อนกระดูกแทน
อ้างอิงจาก
[1] Keyhan SO, Fattahi T, Bagheri SC, Bohluli B, Amirzade – Iranaq MH. Integrated Procedures in Facial Cosmetic Surgery. Cham : Springer Nature Switzerland AG; 2021.
[2] Ghavami A, Guyuron B. Genioplasty. In: Janis JE, editor. Essentials of Aesthetic Surgery. New York: Thieme Medical; 2018. p.676-690.
[3] Han SY, Tan KS. Genioplasty. In: Jin HR, editor. Aesthetic Plastic Surgery of the East Asian Face. New York: Thieme; 2016. p.286-300.