ไม่อยากจมูกเอียงต้องรู้ ! สาเหตุเกิดจากอะไร ? พร้อมแนะนำวิธีดูแล ทั้งก่อนและหลังเสริมจมูก

BAIJAI CAP ยาลดบวมหลังศัลยกรรม ตัวช่วยลดบวม ลดอักเสบ

จมูกเอียง จมูกเบี้ยว จมูกคด (Crooked Nose) นอกจากจะดูไม่สวยงาม จนทำให้สูญเสียความมั่นใจแล้ว ยังเป็นข้อจำกัดสำหรับบางอาชีพด้วย ที่สำคัญคือเป็นสาเหตุของอาการหายใจไม่สะดวก ซึ่งบางคนจมูกผิดปกติมาตั้งแต่เกิด แต่มีหลายคนที่เกิดตามหลังสาเหตุบางประการ

สาเหตุของจมูกเอียง จมูกเบี้ยว จมูกคด

โรคบางชนิด

กลุ่มโรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง หรือโรคคุ้มกันบกพร่อง เช่น โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE), โรคเบาหวานชนิดที่ 1, โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (IBD) อาจเกิดภาวะภูมิคุ้มกันทำลายกระดูก จนทำให้จมูกทรุดได้

กระดูกหักหลัง

อุบัติเหตุใด ๆ ที่ทำให้จมูกหัก แล้วไม่ได้ดาม หรือศัลยกรรมแก้ไขจมูกอย่างเหมาะสม

เกิดขึ้นหลังจากเสริมจมูก

► จมูกเดิมเอียง

แกนจมูกไม่ตรงอยู่เดิม แต่ตรวจไม่พบ เพราะวิธีเช็คจมูกเอียงไม่ละเอียดพอ จึงไม่ได้แก้ไขก่อนผ่าตัด เมื่อวางซิลิโคนลงไป จึงเห็นว่าเอียงชัดเจนขึ้น

► ไม่ได้จัดการฮัมพ์ก่อน

คนที่มีฮัมพ์ (Nasal / Dorsal Hump) หรือสันจมูกมีโหนกสูงขึ้นมา แล้วไม่ได้ตะไบ (Rasping) หรือตัดออก (Humpectomy) ก่อน จะทำให้ซิลิโคนไม่แนบกับแกนจมูก จนขยับเอียงได้

► ตอกฐานจมูกไม่สมดุล

เส้นแสดงแนวสำหรับตอกฐานจมูก

ที่มา : Medscape

กรณีที่จัดทรงกระดูกจมูก หรือแก้จมูกที่มีฮัมพ์แล้ว แต่ตอกฐานจมูก (Osteotomy) ทั้งสองข้างไม่สมดุล จะส่งผลให้จมูกเบี้ยว เอียง คดได้เช่นกัน

► ซิลิโคนไม่เหมาะกับจมูก

การเลือกซิลิโคนที่ยาวเกินไป, การเหลาซิลิโคนไม่พอดีกับแกนจมูก หรือใช้ซิลิโคนสำเร็จรูปโดยไม่ตัดแต่ง ย่อมทำให้ซิลิโคนถูกเบียดจนเอียงได้

► วางซิลิโคนผิดตำแหน่ง

การวางซิลิโคนเอียงเอง การเลาะโพรงจมูกเบี้ยว และไม่วางซิลิโคนไว้ใต้เยื่อหุ้มกระดูก เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้จมูกเบี้ยว และดูไม่สมมาตร

► ซิลิโคนถูกขยับ

ในช่วง 3 เดือนแรกหลังจากศัลยกรรม ต้องระวังไม่ให้จมูกถูกกระแทก และอย่าพยายามขยับจมูกเอง โดยเฉพาะในช่วง 2 สัปดาห์แรก หากสงสัยว่าผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์ 

► จมูกบวมช้ำมาก

หลายคนมีปัญหาจมูกอักเสบ บวมแดง บวมช้ำมากหลังผ่าตัด เพราะเป็นคนช้ำง่ายอยู่แล้ว หรืออาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ก้อนเลือดคั่ง, เลือดซึม, ติดเชื้อ รวมทั้งเคสที่ต้องทำจมูกแบบโอเพ่น (Open Rhinoplasty) ด้วย ซึ่งเนื้อเยื่อที่บวม อาจดันให้ซิลิโคนเคลื่อนจนเอียงได้

จมูกเอียง จะแก้ไขยังไงดี ?

ที่มา : Semantic Scholar

ก่อนอื่นต้องตรวจสอบว่า จมูกเบี้ยวหรือเอียงจริงไหม ? เริ่มจากวิธีเช็คจมูกเอียง ด้วยการเงยหน้ามองในกระจก แล้วเปรียบเทียบว่า รูจมูกสองข้างเท่ากันไหม หรืออาจใช้การถ่ายรูปหน้าตรง แล้วลากเส้นเชื่อมระหว่างกึ่งกลางตาดำ จากนั้นหาจุดกึ่งกลางเส้น แล้วลากอีกเส้นตั้งฉากลงมา ถ้าสันจมูกไม่ตรงกับเส้นนี้ แปลว่ามีปัญหา ต้องดัดหรือผ่าแก้จมูก แต่วิธีการค่อนข้างยุ่งยาก จึงขอแนะนำให้ดูแลตัวเองให้ดีทั้งก่อนและหลังผ่าตัด น่าจะเวิร์กมากกว่า

วิธีดูแลตัวเอง เพื่อลดเสี่ยงจมูกเอียง

เตรียมพร้อมก่อนเสริมจมูก

► เลือกแพทย์ที่เชี่ยวชาญ

ควรเลือกแพทย์ผ่าตัด ที่จบเฉพาะทางด้านนี้โดยตรง โดยมีผลงานที่ดี และมีการรีวิวที่น่าประทับใจ

► งดสูบบุหรี่

ช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น แผลหายเร็วขึ้น และยังช่วยให้ระบบหายใจทำงานดีขึ้นด้วย ร่างกายจึงมีออกซิเจนเพียงพอ โดยเฉพาะในช่วงหลังผ่าตัดที่หายใจไม่ค่อยสะดวก

► ลดเสี่ยงติดเชื้อ

หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ชุมชน หรือแหล่งที่มีคนแออัด เพราะอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินหายใจ ที่จะทำให้เนื้อเยื่อจมูกบวม จนต้องเลื่อนวันผ่าตัด

► เตรียมผิวให้แข็งแรง

เตรียมผิวด้วยสมุนไพรบำรุงผิว ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น และลดเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนได้

ดูแลตัวเองหลังผ่าตัด

► งดกิจกรรมเสี่ยง

งดเล่นกีฬา, งดเล่นกับลูกและสัตว์เลี้ยง, ห้ามสั่งน้ำมูก และหลีกเลี่ยงการสวมแว่น ในช่วง 2 สัปดาห์หลังจากแก้จมูก

► ใส่ที่ดามจมูก

ใส่จนครบกำหนดตามที่แพทย์แนะนำ

► นอนท่าที่เหมาะสม

นอนหงาย ยกหัวสูง จะช่วยลดบวม และลดเสี่ยงซิลิโคนไหลจนเอียงได้ โดยเฉพาะช่วง 1 – 2 สัปดาห์แรก

► ประคบเย็น

ประคบด้วยเจลเย็นหรือถุงน้ำแข็ง อย่างน้อย 3 วัน

► ทานสมุนไพรลดบวมช้ำ

แนะนำเป็นสมุนไพร YENJAI ที่มีใบบัวบก, โสมคน, ขมิ้นชัน, ฟักทอง ซึ่งจะช่วยลดอักเสบ ลดบวมช้ำหลังทำศัลยกรรม รวมทั้งยังช่วย ลดปวด ลดเสี่ยงติดเชื้อ กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และเร่งแผลหายเร็วขึ้นด้วย ซึ่งมีทั้งรูปแบบของน้ำใบบัวบก, น้ำฟักทอง, ผงชงดื่ม และแคปซูล BAIJAI CAP โดยสามารถทานได้ ตั้งแต่ช่วงเตรียมตัวก่อนผ่าตัดเลย 

สรุป

จมูกเอียงเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยส่วนใหญ่ต้องผ่าตัดแก้ไข ซึ่งค่อนข้างซับซ้อน ดังนั้นการเตรียมตัวให้พร้อม และดูแลตัวเองหลังผ่าตัดด้วยสมุนไพร YENJAI น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี ที่จะช่วยลดอักเสบ ลดบวมช้ำ และช่วยลดเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้

อ้างอิงจาก

[1]   Guyuron B, Armijo BS. Airway issues and the deviated nose. In: Neligan PC, Warren RJ, Beek ALV, editors. Plastic Surgery: Volume Two: Aesthetic Surgery. 3rd ed. New York: Elsevier; 2013. p.450-464.

[2]   Farshidi F, Sood A, Castiglione CL. Rhinoplasty. In: Ferneini EM, Castiglione CL, Banki M, editors. Complications in Maxillofacial Cosmetic Surgery: Strategies for Prevention and Management. Cham: Springer; 2018. p.221-227

[3]   Shah AR, Shah SI. Crooked Nose Rhinoplasty [Internet]. New York; Medscape; 2021 [cited 2022 Oct 23]. Available from: https://emedicine.medscape.com